Skip to content

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเทคนิค The Devil’s Note ในดนตรีบลูส์

เวลาที่ใช้อ่าน : < 1 นาที

ดนตรีบลูส์มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเต็มไปด้วยเรื่องที่น่าสนใจรวมถึงเทคนิคทางดนตรี และเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องที่เกี่ยวดนตรีบลูส์ก็คือเรื่อง The Devil’s Note & The Blues Note เพราะนักดนตรีบลูส์อย่างบิดาของวงการ Robert Johnson มักจะโดนเชื่อมโยงกับปิศาจและขายวิญญาณอยู่บ่อยๆ ทั้งๆ ที่แกนั้นฝึกฝนอย่างหนักเองอย่างหาก เดี๋ยวลองมาดูกันดีกว่าว่าเรื่องเหล่านี้มีความหมายอย่างไร และมีส่วนทำให้เกิดเพลงบลูส์ที่เรารู้จักและชื่นชอบมาถึงทุกวันนี้ได้ยังไง

The Devil’s note หรือที่เรียกว่า ไตรโทน (Tritone) เป็นคู่เสียงที่ห่างกัน 3 เสียงเต็มในทางทฤฎีดนตรีสากล ในอดีตจะเรียกว่าเสียงของปีศาจ เพราะเคยคิดว่าเป็นเสียงที่ไม่ประสานกัน ฟังแล้วรู้สึกไม่สบายใจเพราะรู้สึกถึงการไปเกี่ยวข้องกับสิ่งชั่วร้าย ไตรโทนนั้นถูกห้ามในดนตรีคริสตจักรช่วงยุคกลาง(Middle Ages) เนื่องจากถูกมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับปีศาจ แต่ต่อมาก็กลายเป็นส่วนสำคัญของดนตรีบลูส์และแจ๊ส

ในทางกลับกัน The Blues Note เป็นโน้ตที่มักถูกเพิ่มเข้าไปในสเกลเพนทาโทนิกที่ใช้ในเพลงบลูส์ เป็นโน้ตตัวที่สามหรือเจ็ด ซึ่งสร้างเสียงบลูส์ที่โดดเด่น รวมถึงการเล่นแบบดันสาย “Bend” ซึ่งเพิ่มอารมณ์และความหมายให้กับเพลงบลูส์เป็นอย่างมาก

มาดูเรื่องเกี่ยวกับ The Devil’s Note & The Blues Note ในเพลงบลูส์กัน

  • มีการใช้ไตรโทนในดนตรีบลูส์และแจ๊สเพื่อสร้างความอารมณ์ในเพลงให้รู้สึกแบบไม่ประสานกัน มักใช้ในคอร์ด dominant 7th ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของคอร์ดทั่วไปในเพลงบลูส์
  • The Blues Note ถูกใช้ครั้งแรกในดนตรีแอฟริกันอเมริกัน และต่อมาถูกนำไปใช้โดยนักดนตรีบลูส์และแจ๊ส ปัจจุบันเป็นลักษณะเฉพาะของดนตรีบลูส์
  • การใช้ Devil’s note ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเพลงบลูส์คือเพลง “Cross Road Blues” ของ Robert Johnson เนื้อเพลงกล่าวถึงการทำข้อตกลงกับปีศาจบนทางแยก และมีการใช้ไตรโทนเพื่อสร้างบรรยากาศหลอนๆ และไม่ได้รู้สึกสบายตัวเท่าไหร่
  • The Blues Note ในเพลงบลูส์มักใช้ในการโซโล่กีตาร์เพื่อเพิ่มอารมณ์และการแสดงออก นอกจากนี้ยังใช้ในท่วงทำนองของเสียงร้องด้วย ซึ่งนักร้องมัก Bend หรือ Scoop เพื่อสร้างเสียงที่สื่อความหมายทางอารมณ์ได้มากขึ้น
  • The Devil’s Note และ The Blues Note มีอิทธิพลอย่างมากต่อดนตรีประเภทอื่นๆ ทั้ง ร็อก, เมทัล และแม้แต่ดนตรีคลาสสิก
  • นักดนตรีบางคนเชื่อว่าตัวโน้ตของ The Devil’s Note และ The Blues Notes มีคุณสมบัติทางจิตวิญญาณที่เพิ่มความลึกซึ้งและความหมายให้กับเพลงของพวกเขา

สรุปได้ว่า The Devil’s Note และ The Blues Notes เป็นสองเทคนิคทางดนตรีที่สำคัญ ที่มีบทบาทในการพัฒนาดนตรีบลูส์ แม้ว่า The Devil’s Note ครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่าเป็นเสียงที่ต้องห้ามในศาสนจักร แต่ตอนนี้มันถูกยอมรับในด้านที่เพิ่มความลึกซึ้งให้กับดนตรีเป็นวงกว้าง ในทางกลับกัน The Blues Notes ก็เป็นลักษณะเฉพาะของดนตรีบลูส์ที่เพิ่มอารมณ์และความหมายของความเป็นบลูส์ ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนเพลงบลูส์หรือเพียงแค่สนใจในประวัติศาสตร์ดนตรี เพลงที่ใช้ไตรโทน และ The Blues Notes ก็เป็นแง่มุมที่น่าสนใจการกำเนิดของเพลงบลูส์รวมถึงตำนานต่างๆ ที่มักจะถูกเชื่อมโยง

เพลงแนะนำที่มีการใช้ The Devil’s note หรือ ไตรโทน

ที่มา: Wikipedia.org

แสดงความคิดเห็น : Kitchen Rai

Your email address will not be published. Required fields are marked *